top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPayo Suparporn

ทดสอบความแม่นยำของเครื่องเลเซอร์สแกนเนอร์


Stadium survey site
Stadium survey site

ในตัวอย่างนี้เราจะทำการสำรวจบริเวณด้านหลังของสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง เป็นโซนด้านหลังมีความยาวเดินสแกนประมาณ 180 เมตร ลักษณะสภาพแวดล้อมเป็นทางยาว มีอาคารด้านเดียว หากใช้ LiDAR สแกนเนอร์จะเกิดค่าผิดพลาดได้มาก เราจึงต้องต่อสแกนเนอร์เข้ากับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม RTK GNSS ก็จะทำให้ค่า Error ลดลง ได้คุณภาพงานสแกนแบบที่ถูกต้อง และใช้งานได้จริง ในงานนี้เราจะทำการเทียบระยะที่วัดได้จริงโดยตรงจาก RTK GNSS และระยะที่วัดได้จากแบบที่สร้างจากเครื่องสแกนเนอร์

เราเดินสแกนบนถนนด้านนอกของตัวสนามกีฬา ไม่ได้เข้าไปด้านใน แต่ Point Cloud ที่ออกมาก็สแกนติดโครงสร้างหลังคาอัฒจันทร์ และเสาไฟสปอร์ตไลท์ด้วย ซึ่งตัวเสาไฟนี้มีความสูงถึง 42 เมตรเลยทีเดียว

AI Assisted Model Creation
AI Assisted Model Creation

ขั้นตอนถัดไปเราก็นำ Point Cloud ที่ได้ไปสร้างเป็นแบบโมเดลสามมิติ โดยใช้ AI ในการช่วยจับรูปร่าง และรายละเอียดต่าง ๆ ทำให้สร้างโมเดลได้รวดเร็ว แม่นยำ และครบถ้วนทุกรายละเอียด

รูปด้านบนเป็นโมเดลที่ได้จากงานสำรวจด้วยเครื่องสแกนเนอร์ เราก็จะจัดส่งให้ลูกค่าในหลาย ๆ ฟอร์แมต นำไปเปิดใช้งานได้ทันที เช่น AutoCAD, 3DsMax, SketchUp, Blender

นอกจากนี้ยังสามารถใช้โมเดลที่ได้ไปคำนวนโครงสร้าง ใช้วิเคราะห์ แรง ขนาดวัสดุ การแอ่นตัวได้ทันที ในรูปเป็นการคำนวนหลังคาอัฒจันทร์ที่มีระยะยื่น 11.4 เมตร ทดลองใส่ภาระ น้ำหนักบรรทุก (กดลง) และแรงลม (ยกขึ้น) ปริมาณ 50 kg/m2 เมื่อเช็คขนาดเหล็กดูก็จะได้ขนาดที่สอดคล้องกับที่วัดได้จากเครื่องสแกนเนอร์ โดยหลังคามีระยะแอ่นตัวสูงสุดที่ปลายหลังคา 55 ม.ม.

หลังคานี้มีพื้นที่ประมาณ 1500 ต.ร.ม. แต่ใช้โครงเหล็กเพียง 13624 kg หรือใช้วัสดุเหล็กเพียง 9 ก.ก. ต่อตารางเมตรเท่านั้น เรียกได้ว่าเบาจริง ๆ จากรูปเป็นการคำนวนแบบสองมิติ หากคิดโดยละเอียดแล้วหลังคานี้ยังมีชิ้นส่วนจำพวก Bracing ที่ขาดหายไปอีกหลายชิ้น ทำให้ในข้อเท็จจริงจะรับภาระได้ไม่ถึง 50 kg/m2 แต่ก็ทำออกมาได้เบาและประหยัดวัสดุ

นอกจากโมเดลสามมิติแล้ว เราก็ยังทำแบบรูปด้าน รูปตัดให้อย่างครบถ้วน (ไม่ได้บอกขนาด) นำไปใช้งานต่อได้ในโปรแกรม AutoCAD ได้ทันที ที่ด้านล่างของ Blog นี้ท่านผู้อ่านสามารถลองกดดาวน์โลดตัวอย่างไฟล์ไปลองเปิดดูได้

เราได้ทำการบันทึกค่าพิกัดที่โคนฐานรากของเสาสปอร์ตไลท์ด้วย RTK GNSS (จุด A และ จุด B) เป็นระยะทางที่ยาวที่สุดในการสำรวจครั้งนี้ แล้วทำการเปรียบเทียบระยะขจัดได้ค่าตามนี้

วัดจากแบบที่สร้างจากสแกนเนอร์ A -> B = 146.417 m

วัดจาก RTK GNSS Receiver A -> B = 146.412 m

โดยค่าที่ได้จากสแกนเนอร์มีความแตกต่างจาก RTK เพียง 5 mm เท่านั้น ถือว่ามีความเที่ยงตรงสูงมากเมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมที่เป็นทางยาวแบบนี้


สำหรับไฟล์ตัวอย่างสำหรับงานนี้ผู้อ่านสามารถกดดาวน์โลดนำไปทดลองเปิดดูได้เลยที่ลิงค์ด้านล่าง

รูปแบบไฟล์ 3D

OBJ - Blender

SAT - Revit

DWG - AutoCAD, Revit, Sketchup

MAX - 3DsMAX

3DS - Sketchup

IGS - Solid Works, Solid Edges


หากท่านผู่อ่านสนใจจะใช้บริการสำรวจด้วยเลเซอร์สแกนเนอร์แบบนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่

บริษัท เทนไซล์ ครีเอเตอร์ จำกัด โทร 081-926-5177 หรือสอบถามผ่านช่อง Chat ทางมุมล่างของจอนี้ได้เลย


ราคาค่าบริการ ลดราคาพิเศษจนถึง ก.พ. 67 ให้บริการทั่วประเทศ

50 ตารางเมตรแรก - 6,000 THB*

เกินจาก 50 ตารางเมตรคิดตารางเมตรละ - 15 THB/m2*

ตัวอย่างเช่น ห้องคอนโดมิเนียมขนาด 35 ตร.ม. ราคา 6,000 THB

บ้านพักขนาด 200 ตร.ม. ราคา 6,000 + 150 x 15 = 8,250 THB

ร้านค้าขนาด 4,000 ตร.ม. ราคา 6,000 + 3500 x 15 = 58,500 THB

* ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าเดินทาง ที่พัก










ดู 14 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page