top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPayo Suparporn

การทำแบบก่อสร้างจริง ด้วยเครื่องสแกนเนอร์สามมิติ


Building facade scanned with LiDAR
Building facade scanned with LiDAR

งานสำรวจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการออกแบบผ้าใบแรงดึง เพราะโครงสร้างประเภทนี้ต้องการความแม่นยำระดับเซ็นติเมตร หากข้อมูลการสำรวจผิดพลาด ไม่เที่ยงตรงครบถ้วนจะทำให้โครงสร้างเหล็กประกอบที่ทำมาจากโรงงานใส่ไม่ได้ การแก้งานจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ผมเข้าใจว่าผู้ออกแบบและผู้รับเหมาต่างเข้าใจถึงความสำคัญในจุดนี้เป็นอย่างดี

Ordinary survey method with total station
Ordinary survey method with total station

วิธีการดั้งเดิมที่ผมใช้วัดจุดเป็น 3 มิติก็คือการใช้เครื่องวัด Total Station ทุกวันนี้มันก็ยังเป็นเครื่องมือวัดสามมิติที่มีความแม่นยำมากที่สุด (ผิดพลาดน้อยกว่า 3mm) แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียเช่นกัน Total Station จะวัดจุดได้ที่ละ 1 จุดผู้วัดต้องปรับมุมนอน มุมตั้ง เล็ง และวัดจุดต่อไป งานใหญ่ ๆ ต้องวัดกันมากกว่า 30-50 จุดเพื่อนำข้อมูลไปสร้างโมเดลสามมิติ ต้องมีการจดบันทึกว่าจุดที่วัดนั้นอยู่ที่จุดใดของอาคาร วิธีการนี้กว่าจะจบงานก็จะต้องใช้เวลานาน บางครั้งมุมเล็งก็มีสิ่งกีดขวาง ก็ต้องทำการย้ายเครื่องวัด ต้องตั้งระดับน้ำ หาจุดอ้างอิงกันใหม่ ยิ่งย้ายกล้องมากก็ยิ่งเพิ่มค่า error มากตามไปอีก

ต้นไม้เป็นอีกวัตถุหนึ่งที่ใช้กล้องวัดได้ยาก ต้องเล็งเก็บทีละกิ่ง การวัดขนาดลำต้นก็ทำได้ลำบาก

Surveying curve wall
Surveying curve wall

ผนังทรงโค้งก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่วัดได้ยาก ไม่สามารถเล็งมองได้ตลอดแนว ต้องมีการย้ายกล้องกันหลายครั้ง การจะวัดให้ได้ความแม่นยำที่สูงนั้นทำได้ยาก

LiDAR Scanning of a house
LiDAR Scanning of a house

แต่การสำรวจด้วยเครื่องสแกนสามมิติทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป เครื่องสแกนจะยิงแสงเลเซอร์ออกไปรอบทิศทาง 360 องศาจากนั้นจะเก็บข้อมูลเป็นล้าน ๆ จุดและบันทึกค่าทันที ต้นไม้ สายไฟ หรือแม้แต่ฝาท่อระบายน้ำก็จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และครบถ้วน

เครื่องสแกนเนอร์สามมิติก็จะมีหลายประเภท ไม่ใช่ว่าทุกเครื่องจะทำงานสำรวจได้ เครื่องที่เราใช้มีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10mm ให้ผลลัพท์ Point Cloud ที่บาง คม ชัดเจน และไม่มีสิ่งแปลกปลอม

บ้านแถวสามชั้นขนาด 200 ตรม. ใช้เวลาสแกนทั้งด้านในและด้านนอกเพียง 6 นาทีเท่านั้น

Scanning large area with GPS assisted
Scanning large area with GPS assisted

สำหรับงานภายนอกที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ เราจะติดตั้งชุดรับสัญญาณดาวเทียมความแม่นยำสูง RTK ไว้กับเครื่องสแกนเนอร์ เพื่อความคุมไม่ให้ค่าผิดพลาดมากกว่า 15mm แม้จะสแกนเป็นระยะทางนับพันเมตร

การสแกนจะได้ Point Cloud นับล้านจุด เทียบกับวิธีเดิมที่จะได้เพียง 30-50 จุดเท่านั้น ทำให้เรามีข้อมูลมากพอสำหรับการออกแบบงานของเรา แต่ Point Cloud นั้นใช้งานค่อนข้างยาก จริงอยู่ว่ามันดูเหมือนรูปถ่ายสามมิติ ที่หมุน เลื่อน ซูมเข้าออก และวัดระยะทางระหว่างจุดได้ แต่วันมันทำได้ยากสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป

Coverting point cloud into 3D model
Coverting point cloud into 3D model

วิธีการนำ Point Cloud ที่ได้ไปใช้ประโยขน์ได้ดีที่สุดคือนำไปแปลงให้เป็นโมเดล 3 มิติ สถาปนิก และผู้ออกแบบสามารถนำเอาโมเดลนี้ไปใช้ในการออกแบบ ต่อเติม ปรับปรุงอาคารต่อไปได้ หากได้ Point Cloud ที่มีคุณภาพดี ขั้นตอนการแปลงนี้สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่มีข้อผิดพลาดของขนาด และการสูญเสียรายละเอียด

โมเดล CAD สามมิตินี้สามารถนำออกไปใช้ได้ในโปรแกรม CAD ต่าง ๆ เช่น Revit, Sketchup, AutoCAD, Blender, 3DsMax หรือไฟล์สามมิติมาตรฐานอย่าง OBJ, STL, IGES or SAT.


นอกจากนี้โมเดลสามมิตินี้ยังนำไปสร้างแบบแปลน ภาพฉาย ภาพตัดได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่มีข้อผิดพลาดให้ถกเถียงกันในไซต์งานอีกด้วย แบบสองมิตินี้เป็นแบบที่ดีที่สุดในการแสดงขนาด ใช้ในการออกแบบ และสำหรับผู้รับเหมาประเมินราคา และการขออนุญาติกับหน่วยงานราชการด้วย แบบแปลนนี้จะอยู่ในรูปขอไฟล์ AutoCAD และ PDF

รูปด้านบนเป็นตัวอย่างของภาพตัดสามมิติที่ได้จากการสแกน ใช้สำหรับการวางแผนงาน และแสดงในที่ประชุม การสำรวจด้วยเครื่องสแกนนี้เป็นก้าวแรกของการทำงานรีโนเวทอาคาร ความแม่นยำ และครบถ้วนของแบบจะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลา หากสนใจในบริการนี้ โปรดติดต่อเราเพื่อสอบถามราคา และรายละเอียดได้




ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page